สีจิ้นผิง 1

สีจิ้นผิง ประธานาธิบดีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของจีน นับตั้งแต่ยุคเหมาเจ๋อตุง ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ต่ออีกสมัย ในระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ วันที่ 16 ตุลาคมนี้ โดยจะเป็นการปูทางไปสู่การรับตำแหน่งประธานาธิบดีจีนสมัยที่ 3 เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ และมีวาระดำรงตำแหน่งต่ออีก 5 ปี รวมเป็น 15 ปี

และนี่คือสรุปเส้นทางชีวิตและเส้นทางสู่อำนาจของสี ก่อนจะก้าวมาถึงวันที่เป็นบุรุษผู้กุมบังเหียนพญามังกร และได้ชื่อว่าเป็น ‘ชายผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก’

ประวัติของ สีจิ้นผิง

สี จิ้นผิงเป็นเลขาธิการคนแรกที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นบุตรของทหารผ่านศึกคอมมิวนิสต์จีน สี จ้งซฺวิน สีขยับตำแหน่งทางการเมืองในมณฑลฝั่งทะเลของจีน สีเป็นผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนตั้งแต่ปี 2542 ถึง 2545 และผู้ว่าการ ซึ่งขณะนั้นเป็นตำแหน่งเลขาธิการพรรคของมณฑลเจ้อเจียงตั้งแต่ปี 2545 ถึง 2550 หลังการปลดเฉิน เหลียงยฺหวี่ สีถูกโอนไปเซี่ยงไฮ้เป็นเลขาธิการพรรคช่วงสั้น ๆ ในปี 2550 สีเข้าร่วมคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะกรรมการบริหารสูงสุดและสำนักเลขาธิการกลางในเดือนตุลาคม 2550 ใช้เวลาอีกห้าปีเป็นผู้สืบทอดของหู จิ่นเทา สีเป็นรองประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2556 และรองประธานคณะกรรมการกลางทหารส่วนกลางตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2555

ประวัติการศึกษา

สีจิ้นผิงใช้เวลา 4 ปีในวัย 20 ของเขาในการเรียนวิชาเคมีที่มหาวิทยาลัยชิงหัว หลังจากทำงานหนักอยู่ 6 ปีในชานซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม เขาได้รับปริญญาเอกจากชิงหัวในปี 2002 เมื่อเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยน

ต่อมาชิงหัวได้กลายเป็นฐานอำนาจที่สำคัญของสีจิ้นผิง ซึ่งเขามักเลือกบัณฑิตผู้มีความสามารถจากสถาบันการศึกษาแห่งนี้มาดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในประเทศ

สีจิ้นผิง และยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ

  1. “ปรารถนาจะให้ประชาชนที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น” เป็นเป้าหมายและความพยายามหลักของผู้นำจีน

ในหนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3” กล่าวถึง “ความปรารถนาของประชาชนที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น” จะเป็นเป้าหมายหลักของความพยายามของผู้นำและพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยยึดถือจุดยืนพื้นฐานในการยืนเคียงข้างประชาชนและมุ่งมั่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน อันเป็นภารกิจสูงสุดของผู้นำและพรรคคอมมิวนิสต์จีน เพราะประชาชน คือ นายของประเทศ

  1. เรียนรู้การทูตสาธารณะของจีนคำว่าการทูตสาธารณะนี้เป็นศัพท์ของตะวันตก เริ่มมีการกล่าวถึงครั้งแรกในปี 1856 และสหรัฐอเมริกานำมาใช้ในปี 1965 จีนนั้นเพิ่งนำมาใช้ในปี 1990 แต่จีนมีพัฒนาการทูตที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีนเอง โดนไม่เป็นแค่การทูตภาครัฐ ซึ่งใช้คำศัพท์ที่เรียกว่า การทูตพลเมืองและการทูตของประชาชน ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็นการทูตระหว่างประชาชนและใช้จนมาถึงทุกวันนี้
  2. ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจนความยากจนเป็นปัญหาสังคมมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจุบันนี้ ปัญหาความยากจนควบคู่กับการพัฒนาของสังคมมนุษย์ตลอดเวลา ประเทศจีนให้ความสำคัญกับปัญหาความยากจนอย่างยิ่ง โดยมองว่าการขจัดความยากจนเป็นความชอบธรรมของอำนาจรัฐและเป็นภารกิจของรัฐบาล หลังการเปิดประเทศเมื่อปลายศตวรรษที่ 20 ประเทศจีนมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด รัฐบาลจีนต้องแก้ปัญหาความยากจนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างสมดุล
  3. ทำไมจีนให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนการแก้ไขปัญหาความยากจนเป็นผลงานสำคัญของประเทศจีน พรรคคอมมิวนิสต์จีนก็ได้ตั้งพันธกิจในการขจัดความยากจนตั้งแต่กำเนิด มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน มุ่งแสวงหาแนวทางขจัดความยากจนโดยผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยม เติ้ง เสี่ยวผิงชี้ว่า สังคมนิยมต้อง“มั่งคั่งร่วมกัน” และลดความเหลื่อมล้ำสังคม
  4. ยุทธศาสตร์สำคัญของการขจัดความยากจนจีนประเทศจีนกำหนดวิสัยทัศน์การขจัดความยากจนอย่างชัดเจน ไม่เพียงแต่ให้คนยากจนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างเดียว แต่ยังต้องให้ผู้ที่หลุดพ้นแล้วไม่กลับมายากจนอีกครั้ง ประเทศจีนจึงกำหนดยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน โดยเน้นการขจัดความยากจนอย่างตรงจุด ซึ่งสาระสำคัญของการขจัดความยากจนอย่างตรงจุดสามารถไปอ่านในหนังสือ “สี จิ้น ผิง ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ เล่ม 3”

6.ทำไมประเทศจีนประสบความสำเร็จทางด้านการขจัดความยากจน

ประเทศจีนประสบความสำเร็จทางด้านการขจัดความยากจนอย่างเป็นรูปธรรม คนยากจนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนด้วยรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แนวคิด นโยบายและยุทธศาสตร์ในการขจัดความยากจนของประเทศจีนจึงเป็นแนวทางและประสบการณ์การพัฒนาของหลายๆ ประเทศ

สุนทรพจน์ของ สี จิ้นผิง

สีจิ้นผิง 2

ในห้วงเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา “สี จิ้นผิง” ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งสำคัญถึง 3 ครั้ง นั่นก็คือ สุนทรพจน์ในการเปิดประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปลายเดือนตุลาคม สุนทรพจน์การประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ที่บาหลี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน และล่าสุดสุนทรพจน์ในการประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจ APEC หรือ APEC CEO Summit ในวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา

สาระสำคัญของสุนทรพจน์ทั้ง 3 แห่ง เริ่มจากการมองภาพกว้างทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการเมือง ที่ทางของจีน นโยบาย ภารกิจ เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถาม “อะไร” เกิดขึ้นกับโลก และ “เราควรทำอย่างไร” ในสุนทรพจน์ที่บาหลี ไปจนกระทั่งถึงโลกได้มาถึงทางแยกอีกครั้ง โลกจะไปทางไหน และเอเชีย-แปซิฟิกจะทำอย่างไร ในสุนทรพจน์ APEC CEO ที่กรุงเทพฯ

โดยสุนทรพจน์ในการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ได้กล่าวถึงบทบาทของจีนในเวทีโลก ด้วยการต่อต้านความคิดสงครามเย็น ต่อต้านการแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่น และยึดมั่นในนโยบายที่กว้างขวางในการเปิดเศรษฐกิจของจีนออกสู่โลกภายนอก ที่สำคัญก็คือ จีนยังคงเร่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบ Dual Circulation หรือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน ซึ่งยุทธศาสตร์นี้จะต้องเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศ ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศเป็นหลัก

แนวคิดเรื่องสงครามเย็น ได้ถูกตอกย้ำขึ้นมาอีกครั้งในสุนทรพจน์ของ “สี” ที่บาหลี โดยกล่าวว่า ความคิดของสงครามเย็นนั้น “ล้าสมัยไปนานแล้ว” เป็นเหมือนการส่งสัญญาณสู่โลกตะวันตก ที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐ ทั้งในบริบททางการเมืองและการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจด้วยการกีดกันการเข้าถึงเทคโนโลยีระดับสูง และจีนยังคงส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจโลกที่ “เปิดกว้าง”

สีจิ้นผิง กับการหมุนเวลากลับ

ความรู้สึกร่วมกันของนักวิเคราะห์การเมืองจีนก็คือ สีจิ้นผิงเป็นผู้นำที่เหมือนจะพาจีนเดินสวนทางจากยุคเปิดและปฏิรูปก่อนหน้านี้

ตลอด 40 ปี หลังการสิ้นสุดยุคประธานเหมา จีนเดินไปในทิศทางที่ส่งเสริมเอกชน กระจายอำนาจ เปิดเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ 10 ปี ที่ผ่านมาในยุคของสีจิ้นผิง ดูเหมือนจีนจะหมุนกลับมาส่งเสริมรัฐและรัฐวิสาหกิจ กำกับดูแลเอกชนอย่างเคร่งครัด รวมศูนย์อำนาจทางการเมือง และควบคุมความเห็นต่างมากขึ้น

ทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองมักเชื่อกันว่า เมื่อประเทศรวยขึ้น มีชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น ก็จะเดินไปในทิศทางเสรีนิยมมากขึ้นแบบไม่ย้อนกลับ ก่อนหน้านี้คนมักมองจีนในลักษณะเดียวกัน คิดกันว่าถ้าพรรคคอมมิวนิสต์ไม่สนับสนุนเอกชน และไม่เน้นเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ย่อมสั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมตามมาได้

แต่ถ้าเรามีความเชื่อเช่นนั้น เราก็คงทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดการฮ่องกงอย่างเคร่งครัด การล็อคดาวน์มหานครทางเศรษฐกิจอย่างเซี่ยงไฮ้ การยืนหยัดนโยบาย Zero Covid จนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงการจัดการภาคอสังหาริมทรัพย์และการกำกับดูแลบริษัทเทคโนโลยีอย่างเข้มงวด ทั้งหมดนี้สะท้อนว่ารัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับเป้าหมายทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์มาก่อนเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไม่ใช่ปัจจัยอันดับแรกที่รัฐบาลจีนสนใจอีกต่อไป

มีผู้รู้เคยวิเคราะห์ให้ผมฟังว่า สีจิ้นผิงมีความเชื่อพื้นฐานสามข้อ ข้อแรก คือ เขาเชื่อว่าเทคโนโลยียุคใหม่ช่วยให้การบริหารจัดการแบบรวมศูนย์และการดำเนินเศรษฐกิจด้วยระบบวางแผน (แทนที่ระบบตลาด) นั้นเป็นไปได้

ข้อนี้แตกต่างอีกเช่นกันจากที่เรามักเข้าใจว่า เทคโนโลยียุคใหม่จะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมเสรี โซเชียลมีเดียจะช่วยส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความเห็น ความหลากหลายของมุมมองจะช่วยให้คนตาสว่างและรัฐบาลไม่สามารถปิดกั้นข้อมูลหรือผูกขาดข้อมูลชุดเดียวต่อไปได้

แต่จีนกลับมีระบบควบคุมเซ็นเซอร์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียอย่างรัดกุม และยังอาจใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วยเผยแพร่และส่งเสริมชุดข้อมูลที่รัฐต้องการสื่อสาร ซึ่งปลุกความรู้สึกชาตินิยมและความสามัคคีของคนจีน

นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาระบบโซเชียลเครดิต และการควบคุมความประพฤติของบุคคลด้วยชุดข้อมูล มีคนเปรียบเปรยว่าจีนเป็นประเทศที่มีตาวิเศษสอดส่องอยู่ทุกที่ จนเป็นเมืองที่ปลอดภัยที่สุดในโลก แต่ในความปลอดภัยก็ต้องแลกกับเสรีภาพเช่นเดียวกัน

ในช่วงก่อนหน้านี้ ในวงการเศรษฐศาสตร์จีนเคยมีการถกเถียงกันเรื่องความเป็นไปได้ของการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนมากขึ้น จากที่เดิมเคยเชื่อกันว่าต้องเปลี่ยนผ่านสู่ระบบตลาด เพราะระบบวางแผนนั้นใช้ไม่ได้ผลและมีแต่จะล้มเหลว เพราะปัญหาเรื่องการขาดข้อมูล แต่ในยุค Big Data จีนมีความมั่นใจมากขึ้นในการบริหารเศรษฐกิจจากส่วนกลางและการผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมกว่าในอดีต

จึงมาสู่ความเชื่อข้อที่สองของสีจิ้นผิง คือ เขาเชื่อว่าวันนี้ไม่ใช่ยุคของการขยายขนาดเศรษฐกิจ แต่เป็นยุคของการรวมสรรพกำลังทรัพยากรมากระจุกทุ่มให้กับอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่รัฐกำหนด เพื่อบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของรัฐ นั่นก็คือการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาในการชิงมหาอำนาจด้านเทคโนโลยี

โจทย์ทางเศรษฐกิจจึงกลายมาเป็นโจทย์การเมืองและโจทย์ด้านความมั่นคงทั้งสิ้น จีนจึงถอยเข้าสู่ยุค ‘รัฐขยายเอกชนหด’ ล่าสุดก่อนการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน สีจิ้นผิงก็ประกาศอีกครั้งว่ารัฐจีนจะต้องทุ่มสรรพกำลังในการทลายคอขวดเทคโนโลยีที่จีนถูกตะวันตกจำกัด จีนจะต้องแหวกวงล้อมสงครามเทคโนโลยีที่ตอนนี้กำลังถูกสหรัฐฯ เล่นงานให้ได้

ส่วนความเชื่อสุดท้ายของสีจิ้นผิง ซึ่งเราจะเห็นในสุนทรพจน์จำนวนมากของเขา ก็คือ จีนต้องมองระยะยาว ความหมายที่คนจีนไม่น้อยพูดทีเล่นทีจริงก็คือ นี่เป็นคำปลอบใจหรือเปล่า เพราะระยะสั้นเฉพาะหน้าตอนนี้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ยังคงให้เชื่อมั่นว่าถ้าเดินตามรัฐบาล ระยะยาวจะสดใส และที่รัฐบาลจีนกำกับดูแลภาคอสังหาริมทรัพย์และจัดระเบียบบริษัทเทคโนโลยีนั้นก็เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว เช่น แก้ไขปัญหาฟองสบู่ที่จะไปแตกในอนาคต หรือแก้ไขปัญหาการผูกขาดในภาคเทคโนโลยี ซึ่งก็เป็นปัญหาสำคัญที่ในตะวันตกก็พูดถึงกันมากแต่ทำอะไรไม่ได้

ฝ่ายวิจารณ์รัฐบาลกังวลว่า เศรษฐกิจจีนอาจจะซึมทั้งระยะสั้นและซึมต่อไประยะยาวด้วยหรือไม่ กล่าวคือไม่ใช่เจ็บตอนนี้เพื่อไปรุ่งโรจน์ในอนาคต แต่จะเจ็บและไม่ฟื้นกลับเอาหรือเปล่า

ทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่ข้อสรุปใหญ่ที่ว่า อนาคตของจีนอยู่ที่การรักษาสมดุลของสีจิ้นผิง แน่นอนว่าจีนวันนี้ต้องจัดสมดุลเป้าหมายที่หลากหลายทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม แต่หากสนใจปัจจัยด้านการเมืองหรือความมั่นคง จนเศรษฐกิจทรุดถึงขั้นอาจนำไปสู่วิกฤต รัฐบาลจีนก็ยากที่จะยังได้รับความนิยมจากประชาชนในวงกว้าง


บทความที่เกี่ยวข้อง

แหล่งแร่หายากใหญ่สุดในยุโรปพบที่สวีเดน

Where to travel asia Kind Mid Spirit

Cargo industry welcome foreign investment

Working Together to Make Investments

ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.flowersforyouhollywood.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา https://www.the101.world/xi-jinping-gamble/