ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยาน ดอนเมือง หรือสนามบินดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานในประเทศไทย ที่ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ในเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาได้เกิดอุบัติเหตุทางเลื่อนดูดขาผู้โดยสารขาดในท่าอากาศยาน ในบทความนี้จะมาพูดถึงการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์นี้ว่าเกิดจากอะไร ต้องมีผู้รับผิดชบต่อเหตุการณ์นี้ รวมถึงการเยียวยารักษาผู้เสียหายที่ถูกทางเลื่อนดูดขาขาดในท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยาน

แถลงผลสรุปทางเลื่อนดอนเมืองดูดขาผู้โดยสารขาด

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงแถลงผลสรุปสาเหตุเกิดจากอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานใช้งานมานาน วิศวกรตรวจไม่ครบตามสัญญาจ้าง ต้องตรวจทุกวัน พบวันเกิดเหตุไม่ได้ตรวจ นอตล็อกแผ่นทางเลื่อน 4 มุม หลุดไป 3 ตัว ทำให้รับน้ำหนักไม่ไหวหล่นด้านล่างจนผู้โดยสารถูกหนีบขา ด้านลูกชายผู้บาดเจ็บโพสต์อัปเดตอาการล่าสุด แม่มีกำลังใจดี พาเดินเล่นกินกาแฟในโรงพยาบาล เปลี่ยนบรรยากาศมีคนมาคอมเมนต์ให้กำลังใจจำนวนมาก พร้อมแจงข้อหลักการค่าเยียวยาเนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และไม่มีประสบการณ์ประเมินเรื่องตัวเลข ด้านตำรวจยันมีผู้ถูกดำเนินคดีแน่นอน

กรณีทางเลื่อนอัตโนมัติภายในอาคาร 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง เกิดอาการสะดุดทำให้ น.ส.สุพรรณี กิตติรัตนา อายุ 57 ปี ผู้โดยสารที่ยืนอยู่บนทางเลื่อนลากกระเป๋าเดินกำลังไปขึ้นเครื่องบินเดินทางกลับบ้าน จ.นครศรีธรรมราช ร่างล้มลงพร้อมกระเป๋าเท้าหลุดเข้าไปใต้ทางเลื่อน เป็นเหตุให้ขาซ้ายถูกหนีบขาดช่วงเหนือหัวเข่าไม่สามารถต่อกลับมาใช้งานได้

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 26 ก.ค. ที่ห้องประชุมทอท.ชั้น 6 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอุบัติเหตุทางเลื่อนหนีบขาผู้โดยสาร นำโดย เรืออากาศเอกธรรมาวุธ นนทรีย์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประธานการสอบสวน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ และผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกันแถลง ความคืบหน้าการตรวจสาเหตุทางเลื่อนหนีบขาผู้โดยสารในท่าอากาศยาน

นายกีรติ กล่าวว่า หลังจากเกิดอุบัติเหตุเวลา 08.21 น. วันที่ 29 มิ.ย. ทอท.ใช้เวลา 22 วัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่

  1. การสอบประวัติทางเลื่อนที่เกิดเหตุ
  2. การรวบรวมหลักฐานและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  3. การสำรวจพื้นที่
  4. การตรวจสอบด้านวิศวกรรมเครื่องกล อุปกรณ์ และระบบความปลอดภัย
  5. การตรวจสอบข้อมูลจากการให้ถ้อยคำของผู้เกี่ยวข้อง
  6. การตรวจสอบการบำรุงรักษาตามสัญญาจ้าง และสัญญาอื่นๆ
  7. การทดสอบต่างๆ เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
  8. การตั้งสมมติฐาน และ
  9. การสรุปสาเหตุและการถอดบทเรียน

คณะกรรมการพิจารณาพยานวัตถุ 10 รายการ พยานเอกสาร 23 รายการ และข้อมูลการให้ถ้อยคำผู้เกี่ยวข้อง 34 ราย ได้ข้อสรุปสาเหตุจากพยานหลักฐานที่ปรากฏข้อเท็จจริง คือ ทางเลื่อนในท่าอากาศยานมีปัญหาที่แผ่นพื้นหลุดออกจากโครงยึด ทำให้เกิดช่องว่างส่งผลให้ผู้โดยสารหล่นลงไปได้รับบาดเจ็บสาหัส

AOT ขอผู้ใช้บริการมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย

นายกีรติกล่าวต่อว่า ข้อสรุปสาเหตุคณะกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้อุปกรณ์ทางเลื่อนของทดม. ได้แก่ การฟื้นฟูความมั่นใจในการใช้โดยการตรวจสอบแผ่นทางเลื่อน โครงสร้างของแผ่นทางเลื่อน ทุกอุปกรณ์ จ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่สามเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางเลื่อนมาตรวจสอบและปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยตามมาตรฐาน EN115-2 ในเวอร์ชันล่าสุด เช่น การติดตั้งตัวตรวจจับ กรณีแผ่นทางเลื่อนหายไป การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเลื่อน เช่น การติดตั้งกล้อง CCTV ประจำทางเลื่อน รวมทั้งจัดการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องของการบำรุงรักษาของท่าอากาศยาน ตลอดจนการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร และการปรับปรุงคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย

“การดูแลผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ คณะผู้บริหาร AOT เยี่ยมและติดตามการรักษาจากทีมแพทย์อย่างใกล้ชิด พร้อมรับผิดชอบดูแลค่ารักษาพยาบาล และดำเนินการเรื่องค่าชดเชยเยียวยาผู้บาดเจ็บอย่างดีที่สุด กรณีดังกล่าว AOT ทำประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม สถานที่ที่เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ คือ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ AOT ทั้ง 6 แห่ง รวมถึงสำนักงานใหญ่ สำนักโครงการและสถานที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ AOT คุ้มครองค่าเสียหายที่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหาย เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการบาดเจ็บ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ รวมถึงค่าเสียหายอื่นๆ ด้วย

สุดท้ายนี้ AOT ขอแสดงความเสียใจอีกครั้งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ขอยืนยันว่า AOT ยึดมั่นถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการเป็นหลักตลอด ตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยาน ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ขอให้ผู้โดยสารเชื่อมั่นในการมาใช้บริการ” นายกีรติกล่าว

สรุปสาเหตุของทางเลื่อนหนีบขา

เรืออากาศเอกธรรมาวุธกล่าวว่า สรุปสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในท่าอากาศยานคือ อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานใช้งานมาตั้งแต่ปี 30 ตรวจสอบครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 66 วิศวกรที่เซ็นรับรองไม่มีคุณสมบัติในการรับรอง เพราะเป็นเพียงวิศวกรรมเครื่องกลระดับภาคีเท่านั้น ไม่ใช่วิศวกรรมระดับสามัญวิศวกรรมตามสัญญาจ้าง การตรวจสอบไม่ครบถ้วนตามสัญญาจ้าง ในสัญญาระบุว่าต้องตรวจสอบความเรียบร้อยในท่าอากาศยานทุกวัน ในวันเกิดเหตุยังไม่ได้ตรวจสอบ จากการตรวจสอบพบว่าแผ่นทางเลื่อนที่หลุดเกิดจากแผ่นทางเลื่อน 1 แผ่นจะมีนอตล็อก 4 มุม แต่นอตเกิดหลุดไป 3 มุมตั้งแต่ด้านบน

ตอนช่วงที่ผู้โดยสารเหยียบกด เมื่อแผ่นทางเลื่อนม้วนไปด้านล่าง ทำให้นอตที่เหลืออยู่ตัวเดียวรับน้ำหนักแผ่นทางเลื่อนไม่ไหวหลุดตั้งแต่ด้านล่าง ผู้เสียหายเดินมาตามปกติมีผู้โดยสารอีกกลุ่มเดินไปถึงฝั่งแล้ว แต่ผู้เสียหายเดินมาไม่ทันพ้นแผ่นทางเลื่อนที่หลุดจึงเกิดเหตุสลดดังกล่าว ชุดเซฟตี้ทางเลื่อนมีเซ็นเซอร์บางจุดเท่านั้น เพราะเป็นรุ่นเก่า การท่าอากาศยานไทยมีโครงการที่จะเปลี่ยนทางเลื่อนใหม่ทั้งหมดหลายสนามบิน ใช้งบประมาณปี 67 คาดว่าใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

ข้อตกลงการเยียวยาผู้เสียหาย

ด้านนายกฤตย์ กิตติรัตนา ลูกชาย น.ส.สุพรรณี ผู้บาดเจ็บถูกทางเลื่อนหนีบจนต้องสูญเสียขาไป โพสต์ข้อความจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 4 การท่าอากาศยานเข้าชี้แจงสาเหตุกับทางคุณแม่ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เป็นวันที่ 26 หลังจากที่คุณแม่ประสบภัย อาการทางกายภาพของแม่ฟื้นฟูได้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่ามีอาการอักเสบบ้างเป็นระยะๆ อาจจะสามารถเริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาและใส่ขาเทียมอีกไม่กี่สัปดาห์ตามการประเมินของแพทย์ สภาพจิตใจไม่กี่วันที่ผ่านมา คุณแม่ลื่นล้มในห้องน้ำโชคดีที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ แต่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างมาก หากท่านใดที่ได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมคุณแม่จะเห็นว่าท่านมีกำลังใจที่ดี พูดคุย เฮฮา สนุกสนาน ประหนึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่โต แต่หลังจากที่ลื่นล้มพบกับความเป็นจริงว่าร่างกายไม่ได้แข็งแรงครบถ้วนเหมือนแต่ก่อน คงจะต้องล้มอีกไม่รู้กี่ครั้ง แม่นอนซมไม่มีอารมณ์จะทำอะไรไปหนึ่งวัน แต่วันนี้คุณแม่ก็ลุกขึ้นกลับมาสู้ด้วยรอยยิ้มอีกครั้ง

วันนี้ทางการท่าอากาศยานไทย นำโดยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เข้าเยี่ยมอาการคุณแม่พร้อมตัวแทนเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกัน ชี้แจงถึงต้นตอของสาเหตุที่เกิด ผมได้ขอคำแนะนำจากเรื่องการเจรจาค่าเยียวยาเนื่องจากเป็นเรื่องที่ใหม่ และไม่เคยมีประสบการณ์ที่จะประเมินเป็นตัวเลข จึงขอตกลงกับทุกฝ่ายบนหลักการดังนี้

  1. การเยียวยาชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ความเสียหายสืบเนื่องจากเหตุการณ์นี้อย่างเต็มที่เหมาะสมประหนึ่งคนในครอบครัวของท่าน
  2. ชดเชยเพื่อให้คุณแม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงดังเดิมได้มากที่สุด ทั้งกิจกรรมปกติในบ้านและนอกบ้าน
  3. การเยียวยาและชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นกับครอบครัวทั้งทรัพย์สินและจิตใจ
  4. การเยียวยาทางจิตใจให้กับคุณแม่และครอบครัวให้สามารถใช้ชีวิตกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุดจวบจนคุณแม่จะสิ้นอายุขัย

หากจะให้อธิบายความคิดออกมาเป็นบทความ จากครอบครัวเราที่เคยสมบูรณ์วันนี้เราไม่สมบูรณ์เหมือนเดิมอีกต่อไปเพราะเหตุการณ์ในวันนั้น ไม่ได้หวังที่จะเรียกร้องให้ได้อะไรมากมาย เพียงแค่ให้เรากลับไปเกือบเหมือนเดิมให้ได้มากที่สุด เพราะเรารู้ดีว่าคงไม่ได้ดังเดิม 100% เราได้พาคุณแม่ลงมาเปลี่ยนบรรยากาศ เดินเล่นและดื่มกาแฟด้านล่างของโรงพยาบาล ตลอด 26 วันที่ผ่านมาคุณแม่ใช้ชีวิตแค่ในห้องผ่าตัด ห้องพัก และห้องกายภาพ ในโพสต์มีคนให้กำลังใจจำนวนมาก

ท่าอากาศยาน

เด้งผอ.สนามบินดอนเมือง

ด้าน พ.ต.อ.อดิเรก ทองแกมแก้ว ผกก.สน.ดอนเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าด้านคดีว่า สั่งการให้พนักงานสอบสวนประสานท่าอากาศยานไทย ขอชิ้นส่วนของทางเลื่อนที่ชำรุดและถูกถอดออกทั้งหมดส่งไปให้วิศวกรกลางที่มีความชำนาญเฉพาะทางร่วมตรวจสอบ เพื่อขอทราบผลว่าอุปกรณ์ที่ชำรุดเกิดจากสาเหตุใด หมดอายุ หรือความประมาทของเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบตารางการดูแลทุกเดือนใครเป็นผู้ดูแล รอดูผลแถลงของการท่าอากาศยานด้วยว่าตรงกับวิศวกรกลางหรือไม่

ในส่วนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พยานแวดล้อมทั้งหมด ทางพนักงานสอบสวนสอบไปครบทุกปากแล้ว คาดว่าจะสรุปผลหาคนผิดได้เร็วๆ นี้ ต้องมีผู้รับผิดชอบถูกแจ้งข้อกล่าวหาอย่างแน่นอนกี่คนต้องรอดูว่าหลักฐานไปถึงใครบ้าง มีรายงานว่าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. มีคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายพนักงานท่าอากาศยานไทย ระดับ 10-11 และระดับ 9 รวม 68 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. และ 1 ต.ค.66 เป็นต้นไป

การแต่งตั้งโยกย้ายเพื่อให้การบริหารงานของท่าอากาศยานไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พบว่ามีผู้บริหาร นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา 11 ท่าอากาศยานไทย หลังจากพบผลตรวจสอบข้อเท็จจริงทางเลื่อนหนีบขาผู้โดยสาร และให้นายวิจิตต์แก้วไทรเทียม ตำแหน่งผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ (ระดับ 11) มาเป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ flowersforyouhollywood.com

สนับสนุนโดย  ufabet369