Health

  • มาทำความรู้จักกับโรคไอกรน โรคในเด็กทารก
    มาทำความรู้จักกับโรคไอกรน โรคในเด็กทารก

    สาเหตุของการเกิดโรคไอกรน
    เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งจะมีอยู่ในปากและลำคอผู้ป่วย
    โรคในเด็ก

    อาการและการติดต่อ
    โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทำให้ติดต่อได้โดยตรงจากน้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย ด้วยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรืออาจติดต่อโดยการใช้ผ้าเช็ดหน้า ภาชนะในการดื่ม และรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย ระยะที่ติดต่อกันได้ คือ ระยะ 3 สัปดาห์แรกที่เริ่มเป็นโรคนี้ ระยะฟักตัว ประมาณ 7-10 วัน มีอาการเหมือนเป็นหวัดมีน้ำมูกและไอ ซึ่งแยกได้ยากจากหวัด
    ธรรมดา แต่จะสังเกตได้ว่า อาการไอจะเรื้อรังเป็นแบบไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ และทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 2 พอถึงสัปดาห์ที่ 3 อาการไอจะเป็นแบบไอกรน คือ ลักษณะการไอ จะไอติดๆ กัน จากนั้นหยุดแล้วหายใจเร็วและสั้น จึงมีเสียงวูฟ แล้วมีอาการต่อไปอีกนาน 4-6 สัปดาห์ บางรายอาจจะนานถึง 10 สัปดาห์ หลังจากนั้น อาการไอซ้อนถี่ๆ จะค่อยลดลง แต่จะยังไอต่อไปอีก 2-3 สัปดาห์ และจะหมดอาการของโรคเมื่อครบ 3 เดือนโดยประมาณ โรคแทรกซ้อนอาจจะเกิดปอดบวมในเด็กเล็ก อาจจะมีอาการชักขณะที่ไอมากจนหายใจไม่ทัน หน้าเขียวเพราะสมองขาดเลือดไปเลี้ยง อาจพบมีจุดเลือดออกที่หนังตาหรือในเยื่อตาก็ได้ เด็กอาจจะมีน้ำหนักตัวลด เพราะไอมากจนนอนไม่ได้เต็มที่ และได้อาหารไม่เต็มที่เนื่องจากอาเจียนหลังการไอ
    ไอมากๆ ความดันในช่องท้องสูงขึ้นอาจจะเกิดไส้เลื่อนได้ เจ็บชายโครงจากกล้ามเนื้อทำงานมากอักเสบ ถ้าเป็นวัณโรคอาการก็จะกำเริบขึ้นได้
    โรคนี้พบมากในเด็กทุกเพศทุกวัยที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปีในชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น มักพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้สูง

    การป้องกัน
    ให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน และโรคอื่น ๆ ตามกำหนด

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ flowersforyouhollywood.com

Economy

  • คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม”
    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม”

    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม” สั่งทุกแบงก์เร่งเดินหน้าต่อ

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคาร และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้จัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”

    ผลปรากฏว่า มีผู้มาลงทะเบียนแก้ไขหนี้รวม 447,000 รายการ โดยเป็นการลงทะเบียนในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ฯสัญจรจำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา มีประชาชนมาขอรับบริการ 34,000 รายการ รวมมูลหนี้ 24,000 ล้านบาท โดยสามารถแก้ไขหนี้ได้สำเร็จคิดเป็นมูลหนี้ 9,600 ล้านบาท

    ขณะที่การขอแก้หนี้อีก 413,000 รายการ เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าหนี้ได้ เนื่องจากประชาชนไม่ได้กรอกมูลค่าหนี้ของตัวเอง อย่างไร ก็ตาม เบื้องต้นสามารถเจรจาแก้ไขหนี้ได้สำเร็จ 50,000 รายการ คิดเป็นวงเงิน 12,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้มีกว่า 100,000 รายการที่ลงทะเบียนไว้แต่ติดต่อไม่ได้ ส่วนอีก 100,000 รายการ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และอีก 150,000 รายการยังอยู่ระหว่างดำเนินติดการตามการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องเร่งเดินหน้าต่อเพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป

    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย "อาคม" สั่งทุกแบงก์เร่งเดินหน้าต่อ

    “แม้งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ฯจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ได้มอบนโยบายให้สถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งดูแลลูกหนี้ของตัวเอง ด้วยการไปเคาะประตูบ้าน เพื่อให้มาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการเปิดสาขารับแก้ไขหนี้ด้วย ซึ่งรูปแบบการแก้หนี้ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นนั้น ได้กำชับให้ธนาคารรัฐช่วยลดภาระการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งขยายงวดการผ่อนชำระ ลดวงเงินชำระตามความสามารถของตัวเอง โดยเรื่องนี้ให้ถือเป็นดัชนีชี้วัดการทำงานของสถาบันการเงินของรัฐด้วย เพราะปีนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้เป็นปีแห่งการแก้หนี้สินภาคครัวเรือนเป็นวาระแห่งชาติ ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี”

    สำหรับหนี้สินที่มีประชาชนมาลงทะเบียนจำนวนมาก คือ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อบุคคล รองลงมา คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : flowersforyouhollywood.com