คอร์กี้

ชะตากรรมของสุนัขทรงเลี้ยงพันธุ์คอร์กี้ หลังจากเกิดการสวรรคต ของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2

จากรายงานล่าสุด มีข่าวแจ้งมาว่า พระโอรสของพระองค์ เจ้าชายแอนดรูว์ และอดีตพระชายา ซาราห์ ดัสเชสแห่งยอร์ก สุนัขทรงเลี้ยงที่เหลือ 2 ตัว ไปเลี้ยง ควีนเอลิซาเบธนั้น ทรงมีความผูกพันและทรงมีความรัก กับสุนัขพันธุ์ คอร์กี้ มาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ และต่อจากนี้ จะเป็นเรื่องราวความสัมพันระหว่าง พระองค์ และสุนัขพันธุ์โปรด คอร์กี้

ในปี 1959 ซึ่งเป็นช่วงที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีพระชนมพรรษา 32 พรรษา ได้ทรงวางมือจากการทรงงานชั่วคราว เพื่อมาออกแบบป้ายหลุมศพ ของสุนัขทรงเลี้ยงตัวโปรดของท่าน สุนัขพันธุ์เพมบรูกเวลช์คอร์กี้ ที่ชื่อ ซูซาน เป็นสุนัขที่พระองค์ได้รับเป็ยของขวัญ ในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ซึ่งหลังจากวันนั้น ซูซาน ก็ได้กลายมาเป็นพระสหายคู่ใจที่ติดตาม พระองค์ไปทุกหนแห่ง

คอร์กี้
สมเด็จพระราชินีนาถ ทรงเขียนบันทึกถึงการสูญเสีย สุนัขทรงเลี้ยงตัวโปรดเอาไว้

ว่า “ข้าพเจ้ามีความกลัวอยู่เสมอที่จะสูญเสียมันไป แต่ข้าพเจ้าก็ดีใจที่ความเจ็บปวดทรมานของมันเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก” ซูซานไม่ใช่สุนัขที่เป็นมิตรกับทุกคน และมีประวัติเคยกัดเจ้าพนักงานไขลานนาฬิกา รวมทั้งทหารองครักษ์ประจำพระราชวัง

เมื่อตายลง มันถูกฝังไว้ที่สุสานสัตว์เลี้ยง ที่พระตำหนักซานดริงแฮม ที่สร้างขึ้นตามพระราชประสงค์สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย จุดจบของสุนัขพันธุ์เพมบรูกเวลช์คอร์กี้ตัวนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของความรักอันไม่เสื่อมคลาย ที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีต่อสุนัขพันธุ์นี้

ตลอดช่วง 6 ทศวรรษต่อมา พระองค์ทรงเลี้ยงสุนัขคอร์กี้กว่า 30 ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของเจ้าซูซาน และนี่ทำให้สุนัขต้อนปศุสัตว์ ที่มีต้นกำเนิดในเวลส์พันธุ์นี้กลายเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมจากสังคม อีกทั้งยังทำให้เกิดสุนัขชนิดใหม่ ที่เรียกว่า “ดอร์กี” (dorgi) โดยบังเอิญ

จากการผสมพันธุ์กันระหว่างสุนัขคอร์กี้ ของพระองค์กับสุนัขพันธุ์ดัชชุน ของเจ้าหญิงมาร์กาเรต พระขนิษฐา ที่มีชื่อว่า “พิปกิน” เหตุใดสมเด็จพระราชินีนาถจึงโปรดปรานสุนัขคอร์กี้เป็นพิเศษ คำตอบของเรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1933 ซึ่งขณะนั้นเจ้าหญิงเอลิซาเบธ พระชันษา 7 ปีทรงเห็นพระสหายของพระบิดา

และพระมารดาเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ จึงทรงอยากเลี้ยงตาม ในยุคนั้นเพมบรูกคอร์กี้ เป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองที่พบเห็นได้ทั่วไปในเวลส์ แต่ยังไม่ค่อยมีให้เห็นในอังกฤษ พระบิดาของเจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงติดต่อผู้เพาะพันธุ์ชื่อดังที่ชื่อว่า เทลมา เกรย์ ซึ่งได้นำลูกสุนัขจากฟาร์มโรซาเวล ในมณฑลเซอร์รีย์มาให้ทรงเลือก 3 ตัว

ดยุคแห่งยอร์ก (พระยศขณะนั้น) และครอบครัวตัดสินใจเลือกสุนัขเพศผู้ตัวหนึ่งที่มีชื่อเต็มว่า “โรซาเวล โกลเดน อีเกิล” เพราะมันเป็นเพียงตัวเดียวที่มีหางสั้น ๆ ที่เจ้าของอยากเห็นเวลามันดีใจจากหางที่กระดิก อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครเรียกชื่อเต็มของเจ้าตูบตัวนี้ แต่ตั้งชื่อเล่นให้มันว่า “ดูกี้” (Dookie)
เนื่องจากพนักงานในฟาร์ม ได้ทราบว่าดยุคแห่งยอร์ก คือเจ้าของคนใหม่ของมัน เจ้าดูกี้มีนิสัยตรงข้ามกับรูปร่างหน้าตาที่แสนน่ารักของมัน เพราะมีข่าวว่ามันชอบกัดเหล่าข้าราชสำนัก และแขกที่ถูกปล่อยไว้ตามลำพัง แต่นั่นก็ไม่ทำให้สื่อมวลชน หยุดตีพิมพ์ภาพที่น่าเอ็นดูของเจ้าหญิงเอลิซาเบธกับเจ้าตูบตัวนี้

และเริ่มทำให้คอร์กี้เป็นที่รู้จักในอังกฤษ ในอีกไม่กี่ปีต่อมา ครอบครัวยอร์กก็รับ “เลดี้ เจน” สุนัขคอร์กี้อีกตัวมาเลี้ยงจากผู้เพาะพันธุ์เจ้าเดิม จากนั้นช่วงเทศกาลคริสต์มาสในปี 1936 มีการตีพิมพ์หนังสือเด็กเรื่อง Our Princesses and Their Dogs ซึ่งถือเป็นการประชาสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จของราชวงศ์อังกฤษ

เพราะเนื้อหาในหนังสือบอกเล่าเรื่องราวของสมาชิกครอบครัวยอร์กกับเหล่าสัตว์เลี้ยงที่ไม่ต่างไปจาก “ครอบครัวคนธรรมดาสามัญครอบครัวหนึ่ง” ในหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยภาพถ่ายสุนัขทรงเลี้ยง และค่านิยมที่ให้ความสำคัญต่อครอบครัว โดยวางจำหน่ายเพียงไม่กี่วันก่อนหน้าที่สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 จะสละราชสมบัติ

และทำให้ดยุคแห่งยอร์กทรงก้าวขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ของสหราชอาณาจักร ที่ผ่านมา พระราชวังบักกิงแฮมมักไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยงของสมเด็จพระราชินีนาถ เพราะมองว่าเป็น “เรื่องส่วนพระองค์” แต่ก็ชัดเจนว่าราชสำนักเล็งเห็นถึงการใช้ “อำนาจอ่อน” ของเรื่องนี้

ในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อราชวงศ์

กระแสนิยมในสุนัขคอร์กี้ ทำให้ตัวเลขผู้ลงทะเบียนเป็นเจ้าของสุนัขพันธุ์นี้ พุ่งสูงขึ้นอย่างเด่นชัดในปี 1936 และปี 1944 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าหญิงเอลิซาเบธ ทรงได้รับพระราชทานซูซานเป็นสัตว์เลี้ยงส่วนพระองค์ จึงอาจพูดได้ว่าทรงทำให้สุนัขขาสั้นตัวป้อมพันธุ์นี้กลายเป็นที่นิยม

ขณะเดียวกันพวกมัน ก็ทำให้พระองค์มีภาพลักษณ์ที่แสนอบอุ่นด้วย เคียรา ฟาร์เรลล์ จาก The Kennel Club สโมสรผู้เลี้ยงและเพาะพันธุ์สุนัขแห่งสหราชอาณาจักร ชี้ว่า กระแสนิยมดังกล่าวไม่ต่างไปจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากภาพยนตร์และการ์ตูนเรื่อง 101 Dalmatians

หรือแม้แต่กระแสความนิยมเลี้ยง สุนัขพันธุ์โอลด์อิงลิชชีปด็อก (old English sheepdog) ที่เกิดจากโฆษณาสีดูลักซ์ในยุค 70 และ 80 เจ้าหญิงเอลิซาเบธทรงรัก และผูกพันกับซูซานอย่างมาก พระองค์ทรงติดต่อผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมให้จัดหาคู่ครองของเจ้าตูบตัวนี้ และได้สุนัขเพศผู้ที่ชื่อ “โรซาเวล ลักกี สไตรก์” มาเป็นพ่อพันธุ์ให้สุนัขคอร์กี้ทรงเลี้ยงที่มีมากถึง 14 รุ่น

นอกจากความโปรดปรานส่วนพระองค์แล้ว สุนัขคอร์กี้ยังเปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมโยงพระองค์กับสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของช่วงเวลาแห่งความสบายใจ ในขณะที่เราคุ้นตากับภาพที่เจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีทรงพระดำเนินอยู่เบื้องหลังสมเด็จพระราชินีนาถ

แต่เหล่าคอร์กี้กลับเดิมดุ่มๆ นำหน้าพระองค์อยู่เสมอ ว่ากันว่า เจ้าหญิงไดอานา ทรงมีถ้อยคำเฉพาะไว้เรียกพฤติกรรมดังกล่าวของสุนัขคอร์กี้ทรงเลี้ยงว่า “พรมเดินได้” เพื่อบรรยายฝูงสุนัขที่คอยเดินนำหน้าสมเด็จพระราชินีนาถ แต่สำหรับสมเด็จพระราชินีนาถแล้ว ทรงเรียกสุนัขทรงเลี้ยงเหล่านี้ด้วยความรักว่า “พวกเด็กหญิง” และ “พวกเด็กชาย”

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงไม่เคยขายสุนัขที่เพาะพันธุ์ขึ้นมาให้แก่ผู้อื่น สุนัขทั้งหมดต่างอยู่กับพระองค์ หรือไม่ก็พระราชทานให้ผู้ต้องการเพาะพันธุ์ เหล่าพระญาติ หรือพระสหายสนิท ไม่ว่าสมเด็จพระราชินีนาถจะประทับอยู่ ที่พระราชวังหรือพระตำหนักใด ก็จะมีสุนัขคอร์กี้ติดตามไปด้วยทุกหนแห่ง

ไม่ว่าจะเดินทางด้วยรถไฟ เฮลิคอปเตอร์ หรือรถลีมูซีน ในช่วงคริสต์มาส สุนัขแต่ละตัวจะมีถุงเท้าไว้ใส่ของขวัญ ซึ่งสมเด็จพระราชินีนาถทรงเป็นผู้นำของขวัญไปใส่ให้ด้วยพระองค์เอง แม้พระราชวังบักกิงแฮมมีห้องถึง 775 ห้อง แต่สุนัขคอร์กี้มักนอนอยู่ในบริเวณที่ประทับส่วนพระองค์เสมอ

นอกจากนี้ การจูงสุนัขออกไปเดินเล่น ยังเป็นกิจวัตรที่ทรงทำเป็นประจำทุกวัน ก่อนจะทรงมีปัญหาเรื่องการเดินในช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายของพระชนมชีพ เพนนี จูเนอร์ นักเขียนเรื่องราวในราชสำนักเชื่อว่า สิ่งที่สุนัขเหล่านี้มอบให้สมเด็จพระราชินีนาถนั้น มีมากกว่าความสุขใจ แต่ยังเป็นสื่อกลางที่ช่วยเชื่อมโยงพระองค์กับผู้คนมากมาย

เธอชี้ว่า สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีความหลงใหลในสุนัขและม้า แต่ม้าคือสัตว์เลี้ยงของคนรวย ดังนั้นสุนัขจึงเป็นสื่อกลางที่ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และมิตรภาพระหว่างพระองค์กับประชาชนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ตลอดช่วงเวลาระหว่างปี 1933 – 2018 สมเด็จพระราชินีนาถทรงมีสุนัขทรงเลี้ยงไม่ต่ำกว่า 1 ตัวเสมอ

ในขณะที่เจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีนั้น ไม่เคยมีความชื่นชอบแบบเดียวกัน และครั้งหนึ่งทรงเคยบ่นว่า “เจ้าพวกหมาบ้า! ทำไมต้องเลี้ยงเอาไว้มากมายขนาดนี้ด้วย”

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : flowersforyouhollywood.com