Posts List

Health

  • ค่า ฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบสุขภาพสะสม
    ค่า ฝุ่น PM 2.5 ที่มีผลกระทบสุขภาพสะสม

    ปัญหาสุขภาพที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม คือ ปริมาณ ฝุ่น PM 2.5 ที่กลับมามีปริมาณเกินค่ามาตรฐานพร้อมกับลมหนาว ซึ่งล่าสุด จากการรายงานคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 อยู่ในระดับคุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เกินมาตรฐานทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงภาคเหนือ (ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสะสมในระยะยาว หากได้รับอย่างต่อเนื่อง

    ผลกระทบระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้รับปริมาณฝุ่น PM 2.5 ว่า ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 คืออนุภาคฝุ่น มีขนาดน้อยกว่า 2.5 ไมครอน มีการกำหนดค่ามาตรฐานในบรรยากาศ คือ ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยกำหนดค่ามาตรฐาน PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและค่าเฉลี่ยรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    ฝุ่น PM 2.5

    สาเหตุของฝุ่นมีแหล่งกำเนิดมาจาก 2 แหล่ง คือ

    แหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง, การเผาในที่โล่งแจ้ง, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

    แหล่งกำเนิดทุติยภูมิ เช่น การปฏิกิริยาเคมีในอากาศโดยมีสารเคมีกลุ่มซัลเฟอร์ หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น รวมทั้งสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตราย เช่น ปรอท, แคดเมียม, อาร์เซนิก, โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน และสารก่อมะเร็งจำนวนมาก

    ปัจจัยที่ทำให้ PM 2.5 ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน คือ ยังคงมีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศซึ่งเรายังไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเทออกไปโดยง่าย”

    สัญญาณบ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
    ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น

    ต่อระบบผิวหนัง ทำให้มีปัญหาผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ผิวหน้าเหี่ยวแพ้ง่าย และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย
    ต่อระบบทางเดินหายใจ กระตุ้นภูมิแพ้, โรคหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, ทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, มะเร็งปอด
    ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง มีผลต่อการพัฒนาการสติปัญญาของเด็ก กระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็ก และสามารถส่งผลถึงทารกในครรภ์มารดาทำให้เจริญเติบโตช้าหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ทุกคนทุกวัยมีความเสี่ยงต่อฝุ่น PM 2.5 ดังนั้น ควรป้องกันการรับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายกันทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี

    คำถามที่พบบ่อย FAQ

    วิธีป้องกัน และดูแลสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 ควรทำอย่างไร

    – ใช้หน้ากากที่มีคุณภาพ เช่น N95 หากไม่มีอาจใช้หน้ากากอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น แต่การสวมใส่หน้ากาก ควรสวมใส่อย่างถูกต้อง คือ ควรสวมใส่ปิดให้แนบสนิทกับใบหน้าทุกส่วน

    – ควรอยู่ในอาคาร บ้าน หรือพื้นที่ปิดมิดชิดมากกว่าการอยู่นอกบ้านหรือในพื้นที่โล่ง เพราะจะมีโอกาสสัมผัสฝุ่นน้อยลง

    – ควรเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองที่มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น PM 2.5 ในกรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ ก็ควรเปิดพัดลมร่วมกับเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยปิดห้องให้มิดชิดไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้อง

    ที่มา

    thainakarin.co.th

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ flowersforyouhollywood.com

Economy

  • ธปท.จ่อออก 3 กฎเบรกก่อหนี้
    ธปท.จ่อออก 3 กฎเบรกก่อหนี้

    ธปท.จ่อออก 3 กฎเบรกก่อหนี้ พบคนไทยถูกชักจูงกู้เงินด้วยคำพูด “ของมันต้องมี”

    ธปท.กังวลหนี้ครัวเรือนสูงลิ่ว คนไทยเข้าสู่วงจรหนี้เร็ว เตรียมออก 3 กฎปล่อยสินเชื่อใหม่ที่มีคุณภาพ หยุดแบงก์กระตุ้นคนก่อหนี้ ให้สินเชื่อตามความเสี่ยง กำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ เผยตอนนี้คนไทยมีหนี้รวมเฉลี่ยมากกว่า 4 บัญชีต่อคน บางรายสูงกว่ารายได้ถึง 25 เท่า หรือเกษียณแล้วยังต้องผ่อนหนี้กว่า 400,000 บาท

    นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายคุ้มครองและส่งเสริมความรู้ผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในช่วงการเสวนา “หนี้ครัวเรือนไทย แก้อย่างไรให้ยั่งยืน” จัดขึ้นภายในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 23 (Money Expo 2023) ว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ล่าสุดไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 86.9% ของจีดีพี ถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องเฝ้าระวังเนื่องจากเกินกว่ามาตรฐานสากลที่ยอมรับได้ที่สัดส่วน 80% ต่อจีดีพี หากคิดเป็นมูลค่าหนี้อยู่ที่สูงถึงกว่า 15 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้บัตรเครดิตถึง 60% และเป็นหนี้ที่ดีหรือหนี้เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ หรือหนี้บ้านที่เป็นสินทรัพย์จำเป็น 40%

    “ความกังวลของ ธปท.คือ จากการสำรวจข้อมูลจากเครดิตบูโร พบว่า คนไทยเริ่มเข้าวงจรการเป็นหนี้เร็ว โดยพบว่า จากคนไทยอายุ 25 ปี ทั้งหมด 4.8 ล้านคน 58% เริ่มเป็นหนี้แล้ว และหนี้ส่วนหนึ่งกว่า 25% ของจำนวนหนี้กลายเป็นหนี้เสีย และพบว่า คนไทยมีหนี้รวมกันเฉลี่ยแล้ว คนละ 4 บัญชี และพบคนที่มีหนี้สูงสุด ถึง 25 เท่าของเงินเดือน ถือว่าสูงมาก”

    นอกจากนั้น หากพิจารณาความเป็นหนี้นาน พบว่าคนไทยเป็นหนี้เกือบตลอดทั้งชีวิต โดยพบว่า คนไทยที่เกษียณจากงาน หรืออายุมากกว่า 60 ปียังมีหนี้ค้างที่ต้องจ่ายต่อไป ประมาณ 400,000 บาทต่อคน ส่วนหนี้นอกระบบ จากการทำวิจัยของสถาบันป๋วยฯ สำรวจคนไทย 4,600 ครัวเรือน พบ 42% มีหนี้นอกระบบโดยเฉลี่ยคนละ 54,000 บาท อีกทั้งหลังช่วงโควิดพบว่า จำนวนบัญชีที่เป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้น โดยจากหนี้เสีย 10 ล้านบัญชี มีหนี้เสียที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดถึง 4.5 ล้านบัญชี โดยอยู่กับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 70% และบริษัทให้สินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) อีก 20% ซึ่งต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้มาแก้หนี้โดยเร็ว

    “สาเหตุการเป็นหนี้ที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการสร้างหนี้เพื่อใช้จ่าย และการสร้างหนี้จากกรณีจำเป็นฉุกเฉินต่างๆแล้ว พบว่าคนไทยบางส่วนเป็นหนี้โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจหนี้ที่ดีพอ และเป็นหนี้จากการถูกกระตุ้นและชักจูงใจ เช่น ใครๆ ก็มี หรือของมันต้องมี เป็นต้น”

    ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน แบ่งเป็นแนวทางการแก้หนี้เดิมคือ การเร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ อีกส่วนที่ต้องทำคือ การสร้างหนี้ใหม่ที่มีคุณภาพและเหมาะสม ซึ่ง ธปท.อยู่ระหว่างการดูจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการออกกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่มีคุณภาพ

    ธปท.จ่อออก 3 กฎเบรกก่อหนี้ พบคนไทยถูกชักจูงกู้เงินด้วยคำพูด "ของมันต้องมี"เพื่อไม่ให้กระทบทั้งลูกหนี้ที่ต้องการเงินเพิ่มและตัวเจ้าหนี้ โดยจะทำให้ 3 เรื่องคือ

    1.การสร้างลูกหนี้และเจ้าหนี้ที่มีคุณภาพ โดยในส่วนของเจ้าหนี้ในการออกโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์สินเชื่อ ต้องไม่เป็นไปในทางกระตุ้นให้ก่อหนี้เพิ่มในลักษณะไม่จำเป็น เช่น ของมันต้องมี หรืออื่นๆ และต้องให้ข้อมูลให้ครบถ้วน เช่น ในป้ายบอกดอกเบี้ย 0% ลูกหนี้ดีใจกู้เลย ทั้งที่จริงๆ 0% แค่ 3 เดือน หรือแค่ปีแรกเท่านั้น หรือแนะนำให้ผ่อนบัตรเครดิตขั้นต่ำ ซึ่งกินแต่ดอกเบี้ยไม่ตัดต้นทำให้หนี้ไม่หมดเสียที ควรแนะนำให้ผ่อนมากกว่าขั้นต่ำหรือเต็มจำนวน รวมทั้งต้องแนะนำให้ปรับโครงสร้างหนี้หากเห็นว่าลูกหนี้เริ่มส่งไม่ได้

    2.การปล่อยสินเชื่อจะต้องใช้ความเสี่ยงของลูกหนี้เป็นฐาน เช่น คนที่มีความเสี่ยงน้อยผ่อนชำระดี ได้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่คนที่เสี่ยงกว่า ไม่ได้แปลว่าจะต้องตัดไม่ให้เขาเข้าถึงแหล่งเงิน แต่อาจจะให้ภายใต้ดอกเบี้ยที่เหมาะสม

    3.ธปท.จะนำมาตรการดูแลความเสี่ยงโดยรวมของระบบเพิ่มเติม เช่น การกำหนดอัตราส่วนหนี้ต่อรายได้ หรือวงเงินรวมสูงสุดที่ผ่อนส่งได้ต่อเดือน เช่น ต้องผ่อนหนี้ไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้แต่ละเดือน เพื่อให้ยังมีเงินพอใช้จ่ายตามสมควรนอกจากนั้น ธปท.จะไปดูแลในเรื่องกฎหมายฟื้นฟู และล้มละลายให้ผู้ล้มละลายกลับมาได้เร็วขึ้น รวมทั้งการเพิ่มช่องทางและรายได้อื่น เช่น ทางออนไลน์ เพื่อให้คนที่ไม่มีเงินเดือนประจำเข้าถึงสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นด้วย.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : flowersforyouhollywood.com